ในการพิสูจน์ว่า
วิชาธรรมกายเป็นวิชาที่พระพุทธเจ้า และหายไปเพราะไม่มีใครปฏิบัติได้
มาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 500 นั้น นอกจากจะพิสูจน์ว่า
มีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องในพระไตรปิฎกแล้ว ยังจะต้องพิสูจน์ด้วยว่า “อายตนะนิพพาน”
มีอยู่จริง
ที่มันยุ่งยากขึ้นมาอย่างนั้นก็เป็นเพราะว่า
นักปริยัติหรือพวกพุทธวิชาการ ดันทะลึ่งไปเชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
คนเราตายแล้วเกิดครั้งเดียวเท่านั้น เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางวิทยาศาสตร์
การเวียนว่ายตายเกิดไม่มี
นรก-สวรรค์ไม่มี ท้ายที่สุดเลย อายตนะนิพพานไม่มี นิพพานสูญไปเลย
ที่จะนำเสนอต่อไป
คือ หลักฐานที่ว่า อายตนะนิพพานมีจริงตามคัมภีร์ของศาสนา [ข้อมูลและคำแปลนำมาจาก
http://www.dhammakaya.org/ธรรมปฏิบัติ/ธรรมกาย/หลักฐานในคัมภีร์ ]
1)
ตรัสว่า อายตนะ(นิพพาน) นั้น มีอยู่ ดังนี้
"อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ. ยตฺถ
เนว ปฐวี น อาโป น เตโช น วาโย น อากาสานญฺจายตนํ น วิญญาณญฺจายตนํ น
อากิญฺจญฺญายตนํ น เนวสญฺญานาสญฺญายตนํ นายํ โลโก น ปรโลโก น อุโภ จนฺทิมสุริยา.
ตมหํ ภิกฺขเว เนว อาคตึ วทามิ น คตึ น ฐิตึ น จุตึ น อุปฺปตฺตึ. อปฺปติฏฺฐํ
อปฺปวตฺตํ อนารมฺมณเมว ตํ เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺสาติ."
"ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) นั้นมีอยู่. ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มี ในอายตนะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่
เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ. อายตนะนั้นหาที่ตั้ง อาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
นั้นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์." (ขุ.อุ.25/158/206-207)
|
ขอให้ท่านผู้อ่านจำพระสูตรนี้ให้ดี
เมื่อใดก็ตามไปอ่านหนังสือของพวกที่ว่า
นิพพานสูญนั้น พวกนั้น จะไม่กล่าวถึงพระสูตรนี้เลย
ทำราวกับว่า
ไม่มีพระสูตรนี้ในพระไตรปิฎก
ในทางวิชาการนั้น ทางใครเห็นว่า “นิพพานสูญ” ไปเลย
ไม่มีอะไรเลยนั้น
ก็ต้องยกพระสูตรนี้ขึ้นมา และอธิบายหักล้างให้ได้
2)
ตรัสว่า เป็นที่ที่พระอเสขมุนี คือ พระอรหันต์ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก
ดังนี้
"สตฺถา 'ภิกฺขเว เอวรูปานํ อเสขมุนีนํ อภิสมฺปราโย
นาม นตฺถิ. เอวรูปา หิ อจฺจุตํ อมตํ มหานิพฺพานเมว ปาปุณนฺตีติ วตฺวา อิมํ
คาถมาห
"อหึสกา เย มุนโย
นิจฺจํ กาเยน สํวุตา
เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ ยตฺถ
คนฺตฺวา น โสจเรติ
อจฺจุตนฺติ
สสฺสตํ. ฐานนฺติ อกุปฺปฏฺฐานํ ธุวฏฺฐานํ. ยตฺถาติ ยสฺมึ คนฺตฺวา น โสจนฺติ น
วิหญฺญนฺติ ตํ นิพฺพานฏฺฐานํ คจฺฉนฺตีติ อตฺโถ."
"พระศาสดาตรัสว่า 'ภิกษุทั้งหลาย
ชื่อว่าอภิสัมปรายภพของพระอเสขมุนีทั้งหลายผู้เห็นปานนั้น ย่อมไม่มี, เพราะว่า พระอเสขมุนีผู้เห็นปานนั้น ย่อมบรรลุมหานิพพานอันไม่จุติ อันไม่ตาย' ดังนี้แล้ว
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
'มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้วด้วยกายเป็นนิตย์, มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่ฐานะ (ที่) อันไม่จุติ, ซึ่งเป็นที่ชน (อเสขมุนี)
ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก.'
บทว่า
อจฺจุตํ ได้แก่ เที่ยง.
บทว่า
ฐานํ ได้แก่ ฐานะ (ที่) ที่ไม่กำเริบ คือ ฐานะ (ที่) ที่ยั่งยืน.
บทว่า
ยตฺถ เป็นต้น ความว่า มุนีทั้งหลาย ย่อมไปสู่ฐานะ (ที่) คือ พระนิพพาน
ซึ่งเป็นที่ชน (อเสขมุนี) ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก คือไม่เดือดร้อน."
(ขุ.ธ.25/27/45)
|
ข้อความดังกล่าวก็พิสูจน์ได้ว่า
อายตนะนิพพานต้องเป็น “สถานที่” อย่างหนึ่ง
แต่ไม่เหมือนสถานที่ใดๆ ในภพสามนี้
3)
ตรัสว่า พระนิพพาน เห็นได้ยาก ดังนี้
"ทุทฺทสํ อนตํ นาม น หิ สจฺจํ สุทสฺสนํ
ปฏิวิทฺธา
ตณฺหา ชานโต ปสฺสโต นตฺถิ กิญฺจนํ.
"ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่า นิพพาน ไม่มีตัณหา.
นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย.
ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว
กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่." (ขุ.อุ.25/159/207)
|
ข้อความที่ว่า
“พระนิพพาน เห็นได้ยาก” ก็แสดงว่า พระนิพพานต้องเห็นกันได้ และต้องมีกายภาพที่จะต้องเห็นได้
4)
ตรัสว่า พระนิพพาน ตรัสรู้ตามได้ยาก ดังนี้
"อธิคโต โข มยายํ ธมฺโม คมฺภีโร ทุทฺทโส ทุรานุโพโธ สนฺโต ปณีโต
อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย."
"ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก
เป็นธรรมสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ด้วยการนึกคิด เป็นธรรมละเอียด
อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง." (วิ.มหา.4/7/8)
|
ข้อความนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นไปอีก ที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อความนี้ “ไม่เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ด้วยการนึกคิด” กล่าวคือ
การอ่านแล้วคิดตามไปอย่างที่นักปริยัติหรือพุทธวิชาการทำกันนั้น ไม่ทางเห็นนิพพาน
หรือไปนิพพานได้เลย
5)
ตรัสว่า พระนิพพาน มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด
ดังนี้
วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ
|
อนนฺตํ สพฺพโต ปภํ
|
เอตฺถ
ทีฆญฺจ รสฺสญฺจ
|
อนุ
ถูลํ สุภาสุภํ
|
อตฺถ
นามญฺจ รูปญฺจ
|
อเสสํ
อุปรุชฺฌติ
|
วิญฺญาณสฺส
นิโรเธน
|
เอตฺเถตํ
อุปรุชฺฌติ."
|
ธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง
มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ
และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้,
อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น
ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้,
นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือในธรรมชาตินี้, เพราะวิญญาณดับ
นามรูปจึงดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้." (ม.มู.12/554/596)
|
คำว่า
“ตา” ในที่นี้ก็คือ ตาเนื้อหรือมังสจักษุ
เพราะ อายตนะนิพพานนั้น มองเห็นด้วยตาของกายธรรม หรือตาของธรรมกาย
หลักฐานต่างๆ
ที่นำเสนอไปนั้น แสดงให้เห็นว่า “อายตนะนิพพาน” มีอยู่จริง มองด้วยตาเนื้อไม่เห็น
แต่มองเห็นได้ด้วยตาของธรรมกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น