บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

หลักฐาน “ธรรมกาย” ในคัมภีร์

หลวงพ่อวัดปากน้ำกล่าวว่า วิชาธรรมกายเป็นวิชาที่พระพุทธองค์ทรงใช้สอนในกายเผยแพร่ศาสนาในยุคของท่าน และวิชาธรรมกาย หายไปเพราะไม่มีใครปฏิบัติได้ มาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 500

ในการพิสูจน์ว่า คำกล่าวของหลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นจริงหรือไม่นั้น วิธีการหนึ่งก็คือ ค้นหาว่า มีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาธรรมกายในพระไตรปิฎกหรือไม่อย่างไร

นี่คือ ตัวอย่างของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาธรรมกายที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก  [ข้อมูลและคำแปลนำมาจาก  http://www.dhammakaya.org/ธรรมปฏิบัติ/ธรรมกาย/หลักฐานในคัมภีร์ ]

1) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย

"ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ  ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ  ธมฺมภูโต อิติปิ  พฺรหฺมภูโต อิติปิ"

"วาเสฏฐะและภารทวาชะ  คำว่า ธรรมกาย ก็ดี  พรหมกาย ก็ดี  ธรรมภูต ก็ดี  พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต" (ที.ปา.11/55/92)

ขออธิบายในแง่ภาษาศาสตร์เล็กน้อย 

ในการเผยแพร่ศาสนาของพระพุทธองค์นั้น ต้องเผยแพร่ในอิทธิพลของศาสนาพรามหณ์-ฮินดู เนื่องจากศาสนาศาสนาพรามหณ์-ฮินดูเป็นศาสนาดังเดิมในพื้นที่นั้น

ดังนั้น คำศัพท์ที่ใช้ในการเผยแพร่นั้น บางทีต้องใช้คำศัพท์เดิมของศาสนาพรามหณ์-ฮินดูเข้ามาอธิบายบ้าง  ไม่งั้นคนเรียนก็จะไม่รู้เรื่อง

อีกประการหนึ่งก็คือ ภาษาในเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ในการเผยแพร่ศาสนาก็ต้องมีคำศัพท์เป็นจำนวนมาก ในการอธิบาย “สิ่งเดียว” ไปด้วย

2) พระแม่น้า มหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย

อหํ สุคต เต มาตา
ตุวํ ธีร ปิตา มม
สทฺธมฺมสุขโท นาถ
ตยา ชาตมฺหิ โคตม.
สํวทฺธิโตยํ สุคต
รูปกาโย มยา ตว
อานนฺทิโย ธมฺมกาโย
มม สํวทฺธิโต ตยา.
มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ
ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา
ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ
ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.
พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ
อนโณ ตฺวํ มหามุเน.

ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน 
ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.  
ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่  แม้น้ำนมคือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน." (ขุ.อป.33/153/284)

ในกรณีนี้ พระพุทธองค์ทรงสอนพระนางมหาปชาบดีโคตรมีจนเห็นกายธรรม และเป็นธรรมกาย

3) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่

เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ 5 ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น.  

พระพุทธเจ้า 7 พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ธรรมกาย ผู้คงที่

ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร  เพราะกายนี้แตก และเพราะความสิ้นชีวิตนี้

การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี.  เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง."

ขันธ์ 5 นั้น ไม่คงที่ แต่เมื่อเป็นธรรมกายแล้ว ขันธ์ 5 จะกลายเป็น “ธรรมขันธ์” ซึ่งคงที่ ไม่ตกอยู่ในพระไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกพระองค์ ต้องเป็นธรรมกาย จึงจะเป็นนิพพานได้

4) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก  ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า

ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ  เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?" ว่า

"วิสุทฺธสีลา ...     มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ..."

"นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์  มีปัญญาหมดจดดี  มีจิตตั้งมั่น  ประกอบความเพียร  เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า  (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก..."  (ขุ.อป.32/2/20)

กายธรรมหรือธรรมกายนั้น ตามหลักวิชา 18 กายมี 10 กายคือ กายธรรมโคตรภู (หยาบ-ละเอียด),  กายธรรมพระโสดา (หยาบ-ละเอียด), กายธรรมพระสกิทาคามี (หยาบ-ละเอียด)} กายธรรมพระอนาคามี (หยาบ-ละเอียด) และกายธรรมพระอรหัต (หยาบ-ละเอียด)

แต่กายธรรมต่างๆ เหล่านั้น แต่ละกายก็ยังกายธรรมที่หยาบ-ละเอียดอีกอย่างไม่สิ้นสุด  คือ นับไม่ถ้วนเลย

สำหรับการพิสูจน์คำกล่าวของหลวงพ่อวัดปากน้ำเกี่ยวกับวิชาธรรมกายอีกประการหนึ่ง และสำคัญที่สุดก็คือ การใช้วิชาธรรมกายอธิบาย “ข้อความ” ในพระไตรปิฎกที่เป็นปัญหา และไม่มีใครเข้าใจ

ในเมื่อวิชาธรรมกาย “อธิบาย” ประเด็นดังกล่าวได้ แต่นักปริยัติหรือสายปฏิบัติธรรมอื่นๆ ไม่สามารถอธิบายได้ ก็แสดงว่า คำกล่าวของหลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นจริง

วิชาธรรมกายนั้น พระพุทธองค์ทรงใช้เผยแพร่ศาสนาในช่วงที่พระองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่จริง ซึ่งผมจะได้นำมาเสนอต่อไป








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น