บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

อะไรคือตัวตนของเรา


จากบทความ “โครงสร้างของอนัตตลักขณสูตร”  ผมได้กล่าวถึงสิ่งที่ควรจะใคร่ครวญหลังจากการอ่านอนัตตลักขณสูตร 4 ประเด็น 

วันนี้เราจะพูดประเด็นที่ 1 กับ ประเด็นที่ 2 ดังนี้

1) รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณหรือขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวตน แล้วอะไรคือตัวตน

2)  ข้อความที่ว่า “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ข้อความดังกล่าวนั้น ตีความได้ว่า สิ่งที่ตกอยู่ในพระไตรลักษณ์ ไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วตัวตนของเราคืออะไร

ขั้นตอนแรก เราต้องพูดถึงเรื่อง “ขันธ์ 5” กันก่อน เพราะ มีสิ่งที่ไม่น่าเชื่อปรากฏขึ้นคือ พุทธศาสนิกชนทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นเกจิอาจารย์ หรือไม่ใช่เกจิอาจารย์ ไม่มีใครเข้าใจ “ขันธ์ 5” เลย

ผู้ที่เข้าใจขันธ์ 5 ดีที่สุดมีคนเดียวหรือรูปเดียวคือ หลวงพ่อวัดปากน้ำเท่านั้น

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548  กล่าวถึง ขันธ์ ไว้ในวิกิพิเดีย ดังนี้

ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนา หมายถึง ร่างกายของคนเรา คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ

รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้ สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


ขอแปลไทยเป็นไทยอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

รูป ได้แก่ กายของมนุษย์
เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
สัญญา ได้แก่ จำ
สังขาร ได้แก่ คิด
วิญญาณ ได้แก่ รู้

ขันธ์ 5 ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ จะเป็นดังนี้

รูป ได้แก่ กายของมนุษย์
เวทนา ได้แก่ เห็น
สัญญา ได้แก่ จำ
สังขาร ได้แก่ คิด
วิญญาณ ได้แก่ รู้

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างพุทธวิชาการกับหลวงพ่อวัดปากน้ำก็คือ “เวทนา” หลวงพ่อวัดปากน้ำแปลว่า “เห็น”  ส่วนพุทธวิชาการหรือนักปริยัติมักจะแปลเป็น “ความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ

วิเคราะห์กันอย่างเป็นทางการ ชุดของพุทธวิชาการหรือนักปริยัตินั้น ความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ เข้าไม่ได้กับ “จำ, คิด, รู้” เลย  เป็นคนละพวก คนละหมู่เลย 

“ความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ” ไปกันไม่ได้เลยกับ 3 องค์ประกอบที่เหลือ

เห็น จำ คิด รู้” นี่ถึงจะเป็นพวกเดียวกัน เป็นหมู่เดียวกัน และไปกันได้

เอาหลักฐานเพิ่มเติมอีกสักหน่อย ก็เอาร่างกายที่เรากำลังอ่านอยู่นี่แหละเป็นตัวอย่าง เพราะ ร่างกายของเราก็คือ ขันธ์ 5 อยู่แล้ว

เรารู้อยู่ว่า กายของเรากำลังทำอะไรอยู่ ในการอ่านบล็อกนี้ ส่วนใหญ่ก็จะนั่งอ่านหน้าจอ อาจจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์ จอแท็บเล็ต 

ตาของเราก็อ่านไป เพราะ เรา “เห็น” อยู่  แล้วเราก็ “จำ” ได้  ส่วนใหญ่อ่านแล้ว ก็จะ “คิด” ตามไปด้วย  เมื่อผ่านการ “เห็น จำ คิด” ไปแล้ว  เราก็จะ “รู้”

จะเห็นว่า ขันธ์ 5 ของหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น ถูกต้องแล้ว

คงจะไม่มีใคร อ่านบล็อกของผม โดยไม่ใช้ “การเห็น” แต่เอา “ความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ” มาใช้แทน

เราเข้าใจกันอย่างถูกต้องแล้วว่า “ขันธ์ 5” คืออะไร ก็คือ ร่างกายของเราที่กำลังอ่านบล็อกนี้อยู่ แต่อนัตตลักขณสูตรบอกว่า

- ขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวตน
- สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนของเรา

โดยสรุปในส่วนนี้ ข้อความดังกล่าว สามารถสรุปได้ดังนี้

ขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ตรงนี้แหละ พวกพุทธเชิงคัมภีร์หรือพวกปริยัติตีความไปตามความเชื่อวิทยาสตร์ของพวกเขาว่า “ตัวตนไม่มี” 

โดยไม่ได้คิดเลยว่า “ตัวของมึงมีอยู่ทนโท่ คิดได้ กินได้” มันคืออะไร แล้วไม่ยอมอธิบายเสียด้วย

แล้วก็ตีความต่อไปว่า นิพพานไม่มี  ตายแล้วเกิดเพียงชาติเดียว นรก-สวรรค์ไม่มี ฯลฯ

ก่อนที่จะอธิบายว่า วิชาธรรมกายกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างไรนั่น เราต้องเข้าใจความหมายของคำว่า “ไม่ใช่ตัวตนของเรา” ในอนัตตลักขณสูตรกันก่อน

คำว่า “ตัวตนของเรา” ในอนัตตลักขณสูตรมีความหมาย 2 ประการ คือ 

1-  ตัวตนที่ยังต้องเปลี่ยนแปลงเพราะอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา
2- ตัวตนที่คงที่เป็นนิจจัง-สุขขัง-อัตตาแล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว

ตัวตนของเราในในอนัตตลักขณสูตร หมายถึง ตัวตนในประเภทที่ 2 คือ ตัวตนที่คงที่เป็นนิจจัง-สุขขัง-อัตตาแล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว

ในเรื่องนี้ วิชาธรรมกายอธิบายไว้อย่างนี้  ขอให้ดูภาพด้านบนประกอบด้วย

จะเห็นว่า กายของเราหลักๆ เลย มี 18 กาย  

ต่อไป ขอให้ดูกายเนื้อหรือกายมนุษย์ของตัวผู้อ่านเอง  กายหยาบกายนี้ “ไม่ใช่ตัวตนของเรา

รวมไปถึงกายละเอียด (โลกีย์) คือ ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด – กายอรูปพรหมละเอียดด้วย เพราะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

กายธรรมละเอียดทั้ง 10 กายนั้น เป็น “ตัวตนของเรา” เพราะ “เที่ยง เป็นสุข ไม่แปรปรวน

จะเห็นว่า วิชาธรรมกายเท่านั้น ที่สามารถอธิบายอนัตตลักขณสูตรได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่มีใครอธิบายได้อย่างนี้อีกแล้ว








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น