บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

โครงสร้างสติปัฏฐานสูตร


ข้อมูลในบทความนี้ สรุปย่อมาจากหัวข้อ “มหาสติปัฏฐานสูตร” ของวิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี

หัวข้อธรรมะ “สติปัฎฐาน” นั้นมีในพระไตรปิฎกหลายแห่งมาก แต่ที่เก็บรวบรวมเป็นเป็นพระสูตรมี 2 แห่งคือ

1- มหาสติปัฏฐานสูตร ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
2- สติปัฏฐานสูตร ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

สติปัฏฐานสูตรแบ่งออกเป็นข้อๆ เรียกว่า ปพฺพ (ปัพพะ,บรรพะ, ข้อ, แบบ) รวม 21 บรรพะ โดยในพระบาลีใช้คำว่า อปิจ (อะปิจะ - อีกอย่างหนึ่ง)


เริ่มที่อานาปานบรรพะ และไปสิ้นสุดที่ สัจจบรรพะ 



ทั้ง 21 บรรพะนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อย่างย่อเท่านั้น รายละเอียดจำเป็นต้องดูเพิ่มเติมที่สติปัฏฐานสังยุตต์ ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, สติปัฏฐานนิทเทส ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, สติปัฏฐานวิภังค์ ในอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์ (ละเอียดที่สุด)

และคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฏีกา เช่น อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ใน สุมังคลวิลาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร ใน ปปัญจสูทนีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสังยุตต์ ใน สารัตถปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานนิทเทส ใน สัทธัมมปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังค์ ใน สัมโมหวิโนทนีปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา ฏีกาของอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 7 (ย่อไว้ดีมาก), ฏีกา-อนุฏีกาของอรรถกถาเหล่านั้น เป็นต้น.

อย่างไรก็ตาม การจะทำความเข้าใจอย่างละเอียดนั้นจำเป็นต้องมีพื้นฐานในด้านข้อมูล-ภาษา-และความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก-อรรถกถา-ฏีกามากพอสมควร

ซึ่งสามารถหาประสบการและความชำนาญได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติมไปอีก เช่น ถ้าอ่านเรื่อง "รูปขันธ์" ใน ขันธบรรพะ พร้อมอรรถกถา-ฏีกาแล้ว ก็ควรอ่านขันธวารวรรค ในสังยุตตนิกาย, ขันธวิภังค์ ในวิภังคปกรณ์, ขันธนิทเทส ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส,

การจำแนกขันธ์ที่มาในธัมมสังคณีปกรณ์, อภิธัมมัตถสังคหปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีปกรณ์ เป็นต้น.

จากข้อความข้างบนแสดงให้เห็นว่า มหาสติปัฏฐานสูตร/สติปัฏฐานสูตรเป็นหลักสูตรสำหรับให้พระภิกษุนำไปสอน  เช่นเดียวกับหลักสูตรของสถาบันหรือโรงเรียนต่างๆ

ในการทำความเข้าใจกับหลักสูตรเหล่านั้น  ครู-อาจารย์จะต้องไปอ่านไปค้นคว้าอีกมาก

ในกรณีของพระสูตร เราจะต้องมีศึกษา อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และอัตโนมติ คือ คำอธิบายขยายความต่างๆ ของเจ้าสำนัก รวมถึงนักวิชาการเข้าไปด้วย

ข้อความสำคัญที่ควรจะต้องอ่านและทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ ข้อความนี้

ในสติปัฏฐานสูตรจะเน้นให้พิจารณาทั้งสิ่งที่เป็นของตนและของคนอื่น เพราะมี ข้อความว่า "พหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ-เป็นผู้หมั่นพิจารณากายในกายอยู่" อยู่ในทุกบรรพะทั้ง 21 บรรพะเลยทีเดียว

ซึ่งพระอรรถกถาและพระฏีกาจารย์ก็ย้ำไว้อีก ในอรรถกถาของทุกบรรพะเช่นกันว่า "พิจารณาภายนอก หมายถึง ของคนอื่น".

คำนี้ก็สอดคล้องกับสูตรทั่วไป เช่นที่เรามักได้ยินคำว่า "รูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้" เป็นต้น.

อีกข้อความหนึ่งก็คือ

สาเหตุที่คนมักเข้าใจว่า ท่านให้พิจารณาแค่จิตของตนเท่านั้น กายของตน เท่านั้น เป็นต้น อย่างหนึ่งน่าจะมาจากข้อความว่า "กายยาววาหนาคืบ" ซึ่งมีต้นเค้ามาจากพระไตรปิฎก

แต่คำนี้ท่านก็ไม่ได้ระบุว่า หมายถึงของตนเองเท่านั้น

ฉะนั้น จึงควรใคร่ครวญให้ดีว่า ที่นิยมกล่าวกันว่า ให้ดูแต่ใจตนเองนั้นเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน?

จะเห็นว่า คนที่ไปเขียนเรื่องสติปัฏฐานสูตรในวิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี “รู้” และ “เข้าใจ” สติปัฏฐานสูตรค่อนข้างดีทีเดียว

พระพม่าและสาวกของพระพม่า ตลอดจนสายปฏิบัติธรรมอื่นๆ ในประเทศไทย จำนวนมากเลย ที่เข้าใจผิดตามๆ กันไปว่า “สติปัฏฐานสูตร ศึกษาแค่จิตของตนเอง”  ไม่กล่าวถึงการศึกษา “จิต” ที่เป็นภายนอก ซึ่งหมายถึงคนอื่นๆ เลย

ในเมื่อไม่เข้าใจสติปัฏฐานสูตรอย่างถูกต้อง การปฏิบัติธรรมถึงไม่มีความก้าวหน้าไปไหน ได้แต่ลูกกันเองว่า ถึงนั่น ถึงนี่แล้ว  ใกล้จะบรรลุพระอรหันต์ ภายใน 7 ปี 7 เดือน 7 วันแล้ว

โกหกและหลอกตัวเองกันทั้งนั้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น